วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

เริ่มต้นเรียนรู้ android programing ตอนที่ 2

หลังจากที่เราได้ทำการติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเขียนโปรแกรมบน Android ครบถ้วน ตามเนื้อหาในตอนที่ 1 แล้วนั้น เรายังไม่อาจจะเขียน โปรแกรมบน Android ได้จนกว่าจะตั้งค่า ADT (Android Development Tools ) ซึ่งเป็น plugins บน Eclipse และตั้งค่า Emulator ซะก่อน

การตั้งค่า ADT และ Android Virtual Device
  1. หลังจากติดตั้ง ADT และ restart Eclipse แล้วให้เข้าไปที่เมนู Window → Preferences
  2. หลังจากนั้นที่แถบ Android ตั้งค่า folder ที่เก็บ android sdk ในช่อง SDK Location และกด Apply และ OK
  3. ที่ Eclipse เลือกเมนู Window → Android SDK and AVD Manager
  4. ที่ Android SDK and AVD Manager เลือก Available packages ในส่วน Android Repository เลือกติดตั้ง Android SDK 1.6 API 3, Android SDK 2.3.3 API 11  และ Android SDK 4.1 API 16 แล้วเลือก Install Selected ติดตั้งตามขั้นตอนจนเสร็จ
  5. ที่ Android SDK and AVD Manager เลือก Virtual devices และกด New เพื่อสร้าง Virtual devices อันใหม่ โดยให้กรอกข้อมูลดังนี้ และกด Create AVD
Target: Android 2.3.3 – API Level 10
SD Card: Size 64 MiB
Hardware: Device ram size 512

  1. ให้ทดลองเข้าใช้ Vitual Devices ครั้งแรก ที่ Android SDK and AVD Manager เลือก Virtual devices และเลือก Virtual devices ที่เราสร้างและกด Start พร้อมกับ รอ โดยการเริ่ม boot ครั้งแรก จะนานมาก ครั้งต่อไปจะเร็วขึ้นนิดหน่อย

    ในตอนต่อไปเราจะได้ ทำการรู้จัก Android ให้มากขึ้นอีกนิดก่อนที่จะเริ่มต้นเขียนโปรแกรมตามกันอย่างมั่นใจ โปรดติดตามนะครับ

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

ไพธอนฉบับไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ 1

ไพธอนฉบับไม่ใช่โปรแกรมเมอร์
คือ ลองอ่านดูใน wikibooks แล้วมันอ่านง่ายดีอยากลองแปลเล่น ๆ ไว้อ่านเองดูนะ จะแปลเพิ่มเรื่อย ๆ นะ แปลมาจาก Non-Programmer's Tutorial for Python เคยแปลไว้นานแล้ว มาแก้ไขแล้วลงใหม่ทีละตอนไปเรื่อย ๆ นะครับ

ก่อนอื่นเลยสำหรับคนที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาเลยนั้น การที่จะเรื่มเขียนโปรแกรมได้นั้น มันมีทางเดียวก็คือ ลองอ่านและฝึกเขียนโค๊ด  ในบทความนี้จะมีโค๊ดจำนวนมาก คำแนะนำคือ ทดลองเขียนตามและดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ทดลองเล่นและเปลี่ยนแปลงบางอย่าง มันอาจจะรู้สึกบาปมากถ้าเขียนแล้วทำงานไม่ได้ ในที่นี้โค๊ดทุกจุดจะอยู่ในลักษณะเดียวกัน ดังตัวอย่าง


##Python is easy to learn
print "Hello, World!"


มันง่ายมากที่จะเห็นความแตกต่างของข้อความ คุณจะเห็นสีของโค๊ด แต่เวลาคุณพิพม์จริง ๆ แล้วอาจจะไม่เห็นสีแบบนี้นะ ถึงมันจะต่างกันแต่ก็ต้องทำใจละกัน
ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณ พิมพ์บางสิ่งบางอย่างออกมา มันอยู่ในรูปแบบนี้
Hello, World!
ในบางครั้ง จะมีการผสมกัน ระหว่างข้อความที่ขึ้นมาบนหน้าจอกับ ข้อความที่คุณพิมพ์เข้าไป ผมจะแทนข้อความที่ถูกพิพม์เข้าไปด้วยตัวหนาเช่น
Halt!
Who Goes there? Josh
You may pas, Josh
ผมจะแนะนำให้คุณรู้จักกับศัพท์เฉพาะทางการเขียนโปรแกรมบางอย่าง ตัวอย่างเช่น การเขียนโปรแกรม บางครั้งจะเรียกว่าการ โค๊ดดิ้ง หรือ แฮคกิ้ง ปรกติแล้วศัพท์พวกนี้ไม่ได้ช่วยให้คุณเข้าใจว่าพวกโปรแกรมเมอร์พูดอะไรกัน แต่มันอาจช่วยคุณเรียนรู้ได้ดีขึ้น

เอาละ มาถึงจุดที่สำคัญอีกจุดแล้ว จะเรียนเขียนไพธอน ก็ต้องมี โปรแกรม ถ้าคุณยังไม่มีให้ไปหาได้ที่ http://www.python.org/download/ แนะนำว่าเลือกรุ่นที่ใหม่สุดแล้วดาว์โหลดและติดตั้ง ตามคำแนะนำต่อไปนี้

การติดตั้งไพธอน

สำหรับการเขียนโปรแกรมด้วยไพธอน คุณต้องการตัวไพธอนที่ติดตั้งแล้ว และโปรแกรมแก้ไขข้อความ ไพธอนมาพร้อมกันโปรแกรมแก้ไขของตัวเองที่ชื่อว่า IDLE ซึ่งใช้ง่ายและมีความสามารถในระดับนึงเลยทีเดียวสำหรับมือใหม่ ถ้าคุณต้องการอะไรมากว่านั้นคุณอาจจะเลือกไปใช้โปรแกรมแก้ไขข้อความตัวอื่นเช่น emacs, vi, ฯลฯ

หน้าสำหรับดาวน์โหลดไพธอนนั้นอยู่ที่ http://www.python.org/download/ สำหรับเวอร์ชั่นล่าสุดนั้นคือ 2.6 แต่ในบทความนี้ทุกเวอร์ชั่นตั้งแต่ 2.2 ถึง 2.6 สามารถนำมาใช้ได้

และนี่คือวิธีติดตั้ง

สำหรับระบบปฎิบัติการ Linux, BSD และ Unix

ไพธอนควรจะติดตั้งอยู่ในเครื่องคุณแล้ว เพื่อทดสอบพิมพ์คำสั่ง python ในหน้าจอรับคำสั่ง ถ้าคุณเห็นอะไรคล้าย ๆ กับส่วนถัดไป ก็แสดงว่าคุณติดตั้งแล้ว

ถ้าคุณต้องการติดตั้งให้ลองใช้ระบบจัดการแพกเกจของคุณดู

Mac users สำหรับ Mac OS X (Tiger) 

ไพธอนก็มีมาแล้วอีกเช่นกัน แต่อาจองปรับปรุงเวอร์ชั่นซักหน่อย (การทดสอบ version ให้พิพม์คำสั่ง python ในหน้าจอรับคำสั่ง) ถ้าคุณต้องการติดตั้งซ้ำ ก็ให้ดาวน์โหลด ตัว universal intaller จากหน้าดาวน์โหลดของไพธอน สำหรับ Mac OS X (Tiger)

Windows Users

ไปดาวน์โหลดตัวติดตั้งของวินโดว์สำหรับเครื่องของคุณมาซะ และคลิกสองครั้ง แล้วทำตามขั้นตอนที่ขึ้นมา


โหมดโต้ตอบ
ลองเข้าใช้งาน IDLE ซึ่งคุณควรจะได้เห็นอะไรคล้าย ๆ ตัวอย่างข้างล่าง

Python 2.5.2 (r252:60911, Jul 31 2008, 17:28:52) 
[GCC 4.2.3 (Ubuntu 4.2.3-2ubuntu7)] on linux2 
Type "copyright", "credits" or "license()" for more information.

    ****************************************************************
    Personal firewall software may warn about the connection IDLE
    makes to its subprocess using this computer\'s internal loopback
    interface.  This connection is not visible on any external
    interface and no data is sent to or received from the Internet.
   ****************************************************************

IDLE 1.2.2      
>>> 

>>> เป็นตัวที่ไพธอนบอกให้รู้ว่าตอนนี้คุณอยู่ในโหมดโต้ตอบ ในโหมดโต้ตอบนี้ทุกอย่างที่คุณสั่งจะถูกทำทันที เช่นลองพิมพ์ 1+1 ไพธอนจะตอบกลับมาว่า 2 โหมดโต้ตอบนี้ช่วยให้คุณสามารถทดสอบว่าไพธอนทำงานอะไร ถ้าคุณต้องการจะเล่นกับ คำสั่งใหม่ ๆ คุณสามารถทดสอบได้ในโหมดโต้ตอบนี้


เขียนและทดสอบโปรแกรม

เข้าไปยัง IDLE เลือกเมนู File และเลือก New Window และในหน้าต่างใหม่พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้


print "Hello, World!"


แล้วก็ บันทึกไฟล์ อาจจะใช้ชื่อ "hello.py" ก็ได้ แล้วสั่ง Run เลือก Run Module จะปรากฎข้อความ Hello, World! ในหน้าต่าง python shell

สำหรับการใช้งานในระดับลึก ๆ ของ IDLE คุณจะพบได้ที่ http://hkn.eecs.berkeley.edu/~dyoo/python/idle_intro/index.html

ชื่อของโปรแกรม
เป็นกฎที่ต้องทำตามไม่งั้นอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่คาดไม่ถึงได้
  1. ต้องใช้นามสกุล .py และไม่ใช้ . ในส่วนอื่นของชื่อไฟล์
  2. ชื่อไฟล์ต้องประกอบด้วย ตัวอักษร(อังกฤษ) หรือ ตัวเลขเท่านั้น ห้ามมีสัญลักษณ์พิเศษ ยกเว้น dash (-) และ underscore ( _)
  3. ห้ามมีช่องว่าง แนะนำให้ใช้ underscore แทน
  4. ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเท่านั้น ห้ามเป็นตัวเลขและสํญลักษณ์
  5. ห้ามใช้อักขระภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ
ถ้าอยากใช้ผ่าน command line ละ คุณอาจจะไม่ใช้ IDLE ก็ได้ คุณแค่ใช้โปรแกรมแก้ไขข้อความ (Emacs มีไพธอนโหมดนะ) และรันโดยการพิมพ์ python program_name.py


จะหาความช่วยเหลือได้ที่ไหนล่
 ในบางครั้งมันก็เกิดปัญหาขึ้นได้ และคุณก็ไม่รู้จะทำยังไงดี ในบทความนี้ช่วยคุณได้ในเรื่องพื้นฐานบางอย่างเท่านั้น แต่ก็ยังมีแหล่งข้อมูลอื่นที่อาจจะช่วยคุณได้

Python documentation
อันดับแรกเลย เอกสารหลักของไพธอนเอง มันมาตั้งแต่ตอนติดตั้งไพธอนนั่นแหละมีสามส่วน
  • Python Tutorial โดย Guido van Rossum เป็นจุดเริ่มที่ดีนะสำหรับคำถามทั่ว ๆ ไป
  • สำหรับคำถามเกี่ยวกับ โมดูลพื้นฐาน (ซึ่งคุณจะได้เรียนต่อไป) ให้ลองไปดูใน Python Library Reference
  • แต่ถ้าคุณต้องการรู้รายละเอียดบางอย่างเกี่ยวกับตัวภาษาแนะนำให้ลองอ่าน Python Reference Manual มันครบถ้วนแต่ซับซ้อนไปหน่อยสำหรับมือใหม่
ชุมชนของคนที่ใช้ไพธอน มีคนอื่นอีกมากที่ใช้ไพธอน และเขาเหล่านั้นอาจจะช่วยคุณได้

เริ่มต้นเรียนรู้ android programing ตอนที่ 1

Android Robot

มีหลายคนสงสัยว่า ถ้าอยากจะเริ่มเขียนโปรแกรม บนมือถือ ซักตัวจะเริ่มต้นที่ไหนดี iOS, Android, Windows phone, etc. ถ้าเอาเป็นเริ่มต้นได้ง่ายและมีแนวโน้มที่สดใสสำหรับอนาคตแล้วละก็ คงจะหนีไม่พ้น Android เป็นแน่แท้ แต่คำถาม ถัดมาก็คือ แล้วเราจะเริ่มต้น มันยังไงดีละเนี่ย

บทความต่อไปนี้ จะค่อย ๆ อธิบายง่าย ๆ ด้วย tutorial ที่จบเป็นตอน ๆ โดยในแต่ละส่วนของ tutorial จะได้งาน ซึ่งต่อเนื่องกัน ต่อไปเป็นตอน ๆ ซึ่งสามารถ Download ไปลองเล่นได้เมื่อลองทำจน จบ Tutorial นั้นแล้ว ส่วนถ้าใครทำตามแล้วมีปัญหาทำตามไม่สำเร็จ เราจะมี source file แจกจ่ายกันไปทดลองด้วย เพื่อให้สามารถ อ่านและติดตามกันได้โดยสะดวก

สำหรับตอนแรก นี้ จะขอพูดถึงการติดตั้ง และ tool ที่จำเป็นสำหรับการเขียนโปรแกรมบน Android กันนะครับ
    ส่วนประกอบที่เราจะต้องมีในการเขียนโปรแกรมบน Android มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ
  1. Java JDK
  2. Eclipse for Java developer
  3. Android SDK
  4. Android Development Tools (ADT) for Eclipse
การติดตั้ง Java JDK

สามารถกด Download Java Platform, Standard Editionได้จาก
http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/index.html
โดย Download JDK มาติดตั้งตามต้องการ

การติดตั้ง Eclipse

สามารถกด Download Eclipse IDE for Java Developers ได้จาก http://www.eclipse.org/downloads/

การติดตั้ง Android SDK

สามารถกด Download Android SDK ได้จาก http://developer.android.com/sdk/index.html โดยแนะนำให้โหลดและติดตั้ง ผ่านตัว installer ที่เป็น .exe ในขั้นตอนการติดตั้งจะมีการให้เลือก Folder ที่ไว้เก็บ SDK ซึ่งจะต้องจดจำไว้เพราะต้องใช้ในขั้นตอนถัดไป

การติดตั้ง Android Development Tools (ADT)

สามารถติดตั้งได้จากภายในโปรแกรม Eclipse เองโดยจากในโปรแกรม Eclipse โดยมีขั้นตอนดังนี้


  1. กดเมนู Help → Install New Software …
  2. กด Add เพิ่ม “https://dl-ssl.google.com/android/eclipse/” ในช่อง Location
  3. กด OK หลังจากรอ แล้วเลือก Developer Tools และกด Next เพื่อทำการติดตั้งตามขั้นตอน หลังจากเสร็จแล้วให้ restart Eclipse.



ในส่วนนี้คือการติดตั้ง tool และ utility ที่จำเป็นเบื้องต้นสำหรับการเขียนโปรแกรมด้วย Android ในตอนหน้าเราจะสอนถึงขนตอนการสร้าง emulator และการใช้ tool พื้นฐานสำหรับการเขียนโปรแกรมด้วย Android กัน